ICC (International Chamber of Commerce) คือ หอการค้านานาชาติ มีลักษณะเป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่ง ICC ในไทยนั้นเป็นกระบอกเสียงของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยในการนำเสนอและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบติดตามความเคลื่อนไหวและแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศติดตามความเคลื่อนไหวและแนวโน้มระหว่างประเทศ
ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า ICC ที่ฉันจะพูดในวันนี้คือเรื่องนี้แต่ความจริงแล้วไม่ใช่คะคนละเรื่องแต่เป็นอักษรย่อที่เหมือนกันเท่านั้นดิฉันยกขึ้นมาเพื่อไม่ให้สับสนคะ อย่าสับสนนะคะ
ICC ที่ฉันนำมาศึกษาในวันนี้นั้นไม่เกี่ยวข้องอะไรกับICC ข้างต้นเลยแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาลคะซึ่งก็คือ
ICC (International Criminal Court) ศาลอาญาระหว่างประเทศ
คือศาลอาญาระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ (International Organization) ที่ถือกำเนิดขึ้นโดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) เพื่อให้เป็นองค์กรตุลาการถาวรที่เป็นอิสระ เพื่อพิจารณาคดีอาญาที่ถือว่ารุนแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ คดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศศาลอาญาระหว่างประเทศคือ จะพิจารณาคดีอาญาที่ร้ายแรงที่สุดที่กระทำลงโดยบุคคล เช่น การล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมที่เป็นการรุกราน ซึ่งอาชญากรรมเหล่านี้ล้วนแต่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรม และได้นิยามอาชญากรรมเหล่านั้นไว้อย่างรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือและคำจำกัดความที่ขาดความชัดเจน แต่อาชญากรรมที่เป็นการรุกรานจะนำขึ้นสู่การพิจารณาในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ เมื่อรัฐภาคีต่างๆ บรรลุข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของคำจำกัดความและองค์ประกอบความผิดและภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะใช้อำนาจของศาล
ประธานศาลฯ คนปัจจุบัน คือ ซาง-ฮยุน ซง (Sang-Hyun Song) ได้รับเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2009
ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีความจำเป็นอย่างไร
การจับตัวบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศเป็นวิถีการเดียวที่ประชาคมโลกจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่ประชาคมโลกวิตกกังวล แนวทางนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมในปัจจุบันและในการป้องปรามบรรดาอาชญากรในอนาคตอีกด้วย ในประเทศที่ศาลสถิตยุติธรรมไม่อาจดำเนินการกับบรรดาผู้ละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศศาลนี้เองที่น่าจะสามารถป้องปรามพวกเผด็จการให้ละจากการเข่นฆ่าสังหารพลเมืองในประเทศของตนเองในอนาคต
ศาลอาญาระหว่างประเทศยังเป็นการแสดงออกที่แจ่มชัดที่สุดของพัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การที่รัฐภาคีต่างๆ ในทวีปเอเชียได้ให้สัตยาบันต่อการสถาปนาศาลอาญาระหว่างประเทศ จะส่งผลให้เกิดการผลักดันให้มีการยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นและช่วยให้จิตสำนึกในเรื่องนี้หยั่งรากลึกยิ่งขึ้นอีกด้วย
ICJ ( International Court of Justice ) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก (World Court) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นองค์กรหลักภายใต้องค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทำหน้าที่สืบเนื่องต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice) ที่ยุติบทบาทหน้าที่ไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (Contentious Case) เช่นข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้
หน้าที่สำคัญของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
1. พิจารณาข้อขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายที่แต่ละประเทศนำเสนอต่อศาล เช่น การตีความหมายของสนธิสัญญาเป็นต้น ประเทศคู่กรณีตกลงที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล
2.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายตามคำร้องขอมาจากสมัชชา หรือคณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การและทบวงการชำนัญพิเศษอื่นๆ
เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ยอมรับอำนาจศาลให้พิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร โดยศาลได้ตัดสินว่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหารส่วนสำคัญถือเป็นของประเทศกัมพูชา
องค์ประกอบของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
องค์การตุลาการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยคณะผู้พิพากษา 15 นาย ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงและสมัชชา โดยถือคุณสมบัติเป็นมูลฐาน ไม่ถือสัญชาติเป็นมูลฐาน ผู้พิพากษาอยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี และมีสิทธิที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ ผู้พิพากษาเหล่านี้ ก่อนที่จะได้รับเลือกจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสูงสุดทางตุลาการในประเทศของตนหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ จะไม่มีการเลือกผู้พิพากษาจากประเทศเดียวกันซ้ำกันสองคน
ส่วนการออกเสียงนั้น ให้ถือเสียงข้างมากของผู้พิพากษาที่เข้าประชุม ในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีผู้พิพากษาเข้าประชุมอย่างน้อย 9 นาย ในกรณีที่การลงคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานศาลจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงชี้ขาด
จากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ ICC (ศาลอาญาระหว่างประเทศ) และ ICJ (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะเห็นถึงข้อแตกต่างในเรื่องของศาลทั้งสองนี้ แล้วมันมีความแตกต่างกันอย่างไรหละ?
ความแตกต่างระหว่าง ICC และ ICJ
ICC ศาลอาญาระหว่างประเทศ |
ICJ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ |
มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล และมีอำนาจไต่สวน ดำเนินคดี และพิพากษาคดีบุคคล |
มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐ |
ในคดีที่เอกชนกระทำความผิด ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจรัฐอยู่ |
ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน |
ICBPO ( Irrevocable Conditional Bank Payment Order)
KYC และการพิสูจน์ทราบลูกค้า CDD
|
|
|
|